คู่มือฉนวนความร้อน

9746860267-10404-BMรหัสหนังสือ: 10404  ชื่อหนังสือ: คู่มือฉนวนความร้อน
ISBN: 9746860267
ผู้แต่ง: น.ท.ตระการ ก้าวกสิกรรม
ขนาด: 18.5 x 26.0 ซ.ม.
จำนวนหน้า: 312
ราคา 260 บาท

ฉนวนความร้อน เป็นวัสดุที่จะใช้หุ้มอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งยังสามารถรักษาอุณหภูมิ ให้คงสภาพที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น การสวมเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน ของร่างกายในฤดูหนาว

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ครอบคลุมทั้งสอบกรณี คือ มุ่งในการออกแบบระบบฉนวน และการใช้งานฉนวนเพื่อประหยัดพลังงาน ขณะเดียวกันก็คำนึงถึง ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย โดยจะคำนึงถึงทั้ง ระบบทางอุตสาหกรรม และระบบการออกแบบในอาคารด้วย โดยเนื้อหาเริ่มจาก บทที่ 1 จะเป็นการกล่าวนำให้ทราบถึง การประยุกต์ใช้งานฉนวนความร้อนในระบบต่างๆ ทางอุตสาหกรรม และในอาคาร บทที่ 2 ได้กล่าวถึงหลักการถ่ายเทความร้อน และจากบทที่ 3 ถึง บทที่ 8 จะเป็นการกล่าวถึง การใช้งานฉนวนความร้อน, คุณสมบัติของฉนวนความร้อน, ระบบฉนวนความร้อน และการประยุกต์ใช้งาน ทั้งในอาคารและระบบเชิงกล รวมทั้งเศรษฐศาสตร์ของฉนวนความร้อน การคำนวณออกแบบระบบฉนวนที่เหมาะสม และการตรวจสอบ และบำรุงรักษาฉนวนความร้อน

หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับเป็นคู่มือ ในการประยุกต์ใช้ระบบฉนวนความร้อน ของวิศวกรสาขาต่างๆ ทั้งวิศวกรเครื่องกล วิศวกรโยธา สถาปนิก รวมทั้งช่างเทคนิค ช่างก่อสร้าง และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบฉนวนความร้อน

สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 หลักการถ่ายเทความร้อนของฉนวนความร้อน
2.1 การนำความร้อน
2.2 การพาความร้อน
2.3 การแผ่รังสีความร้อน
2.4 การถ่ายเทความร้อนผสมแบบ
2.5 การหาอุณหภูมิระหว่างชั้นวัสดุ
2.6 การถ่ายเทความร้อนภายในฉนวน

บทที่ 3 การใช้งานฉนวนความร้อน
3.1 การใช้งานฉนวนกับพื้นผิวร้อน
3.2 การใช้งานฉนวนกับท่อให้ความร้อน
3.3 การใช้งานฉนวนกับการเก็บรักษาความร้อนของอุปกรณ์
3.4 การใช้งานฉนวนกับการควบคุมอุณหภูมิที่ผิว
3.5 การใช้งานฉนวนกับพื้นผิวอุณหภูมิต่ำ
3.6 การใช้งานฉนวนกับทอ่และอุปกรณ์แบบวัฏจักร
3.7 การใช้งานฉนวนกับพื้นที่อุณหภูมิต่ำ
3.8 การใช้งานฉนวนในอาคาร
3.9 การใช้งานฉนวนในลักษณะวัสดุป้องกันไฟ้ไหม้
บทที่ 4 คุณสมบัติของฉนวนความร้อน
4.1 ชนิดพื้นฐานของฉนวนความร้อน
4.2 คุณสมบัติของฉนวนแบบมวลบางชนิด
4.2.1 ฉนวนแคลเซียมซิลิเกต
4.2.2 ฉนวนเซลลูลาร์กลาส
4.2.3 ฉนวนใยเซลลูโลส
4.2.4 โฟมชนิดสายยืดหยุ่น
4.2.5 ฉนวนใยแก้ว
4.2.6 ฉนวนใยแร่
4.2.7 ฉนวนเพอร์ไลท์ หรือวิลิกาโฟม
4.2.8 ฉนวนฟีโนลิคโฟม
4.2.9 ฉนวนโพลิสไตรีนโฟม
4.2.10 ฉนวนโพลิยูรีเทน/โพลิไอโซไซยานูเรตโฟม
4.2.11 ฉนวนเวอร์มิคูไลท์
4.3 การเปรียบเทียบวัสดุฉนวน
4.4 คุณสมบัติทางกายภาพความร้อนของวัสดุและฉนวนของอาคารและอุตสาหกรรม
4.5 เปลือกหุ้มกั้นไอน้ำหรือแผ่นกั้นไอน้ำ
บทที่ 5 ระบบฉนวนความร้อน และการประยุกต์ใช้งาน
5.1 ระบบฉนวนอาคาร
5.1.1 ฉนวนเพดาน
5.1.2 ฉนวนหลังคา
5.1.3 ฉนวนผนัง
5.1.4 ฉนวนพื้นและฐานราก
5.1.5 ฉนวนหน้าต่างและประตู
5.2 ระบบฉนวนอุปกรณ์เชิงกล
5.2.1 การขยายตัวและหดตัวของภาชนะบรรจุและท่อเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
5.2.2 ฉนวนระบบท่อ
5.2.3 ฉนวนอุปกรณ์ภาชนะบรรจุ
5.2.4 ฉนวนท่อส่งลม
บทที่ 6 เศรษฐศาสตร์ของฉนวนความร้อน
6.1 ความหนาของฉนวนที่เหมาะสม
6.2 การหาความหนาเชิงเศรษฐศาสตร์โดยใช้ตารางและแผนภูมิ
6.3 เศรษฐศาสตร์ของฉนวนในอาคาร
6.4 ความหนาเชิงเศรษฐศาสตร์ของฉนวนความร้อนที่หุ้มพื้นผิวเย็น
บทที่ 7 การออกแบบระบบฉนวน
7.1 การกำหนดขอบเขตและตั้งเกณฑ์หน้าทีที่ระบบฉนวนต้องใช้งาน
7.2 คุณสมบัติทางความร้อนของวัสดุ
7.3 การเลือกฉนวนและอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่จะบรรลุความต้องการของระบบ
7.4 การหาความหนาของฉนวนที่ต้องการ
7.5 อุณหภูมิของพื้นผิวที่ปลอดภัย
7.6 ตัวอย่างการออกแบบฉนวนผนัง
7.7 ตัวอย่างการออกแบบท่อและอุปกรณ์อุตสาหกรรม
บทที่ 8 การตรวจสอบ และบำรุงรักษาฉนวน
8.1 การตรวจสอบ
8.2 การแนะนำและช่วยเหลือให้ผู้รับเหมาะได้ข้อมูลที่จำเป็น
8.3 การแนะนำและช่วยเหลือในการเก็บวัสดุ ณ บริเวณงาน
8.4 การแนะนำและช่วยเหลือในสิ่งอุปกรณ์ที่ต้องการ
8.5 การตรวจสอบขั้นต้น
8.6 การตรวจสอบก่อนการใช้งาน
8.7 การวางแผนงาน
8.8 การตรวจสอบในช่วงติดตั้งฉนวน
8.9 การควบคุมและกำหนดการปรับแก้งาน
8.10 การตรวจสอบขั้นสุดท้าย
8.11 การตรวจวัด
8.12 การบำรุงรักษา
8.13 การบำรุงรักษาฉนวนอุณหภูมิสูง
8.14 การบำรุงรักษาฉนวนอุณหภูมิต่ำ
8.15 เศรษฐศาสตร์ของการบำรุงรักษา
เอกสารอ้างอิง
สารบัญภาคผนวก
คำอธิบายศัพท์